สำนักงานหอพรรณไม้


Tuesday, July 17, 2012

แคคตัสและซัคคิวเล้นท์ คืออะไรกันแน่




                                                                                                       
เรื่อง MR. BEE
ภาพ MR.BEE & mycacti & other websites

เมื่ออาเป้าแนะนำให้ผมเขียนอธิบายเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ผู้ปลูกเลี้ยงมือใหม่มักจะสับสนระหว่างอะไรคือ “cactus” และอะไรคือ “succulent” ผมก็เลยไม่รอช้าเขียนบทความนี้ขึ้น โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทั่วไป

ถ้าจะแปลกันตรงๆแล้ว ทางพฤกษศาสตร์คำว่า succulent นั้น คือพืชที่อวบน้ำ ซึ่งหมายถึงพืชที่เก็บกักน้ำไว้จำนวนมากในลำต้น ใบ หรือราก พืชเหล่านี้พบได้ในเกือบทุกทวีปทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตแห้งแล้ง จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่พืชจากหลายวงศ์หลายตระกูลได้วิวัฒนาการกลายเป็นพืชอวบน้ำสามารถทนต่อความแห้งแล้งเพื่อความอยู่รอด

ส่วน cactus หรือพหูพจน์คือ cacti เป็นพืชวงศ์หนึ่งในจำนวนพืชอวบน้ำมากมายหลายวงศ์ พูดง่ายๆก็คือ cactusก็คือsucculentนั่นเอง แต่ไม่ใช่succulentทุกชนิดเป็น cactus

ผมจะขอแนะนำพืชที่เป็น succulent ในวงศ์ต่างๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงการผู้เลี้ยงในประเทศไทย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวมของการจำแนกหมวดหมู่succulentในเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้ลักษณะดอกในการจำแนก แต่ผมไม่ขออธิบายลักษณะดอก ณ ที่นี้ เพราะต้องการแค่แนะนำแต่ละวงศ์คร่าวๆให้เข้าใจได้ง่ายและไม่ต้องการให้เป็นวิชาการมากเกินไป และสามารถทำให้ผู้ที่สนใจค้นคว้าเพิ่มเติมได้เองอย่างง่ายดาย


Agave

Agave americana

 Adenium arabicum
Wrightia religiosa

Pseudolithos migiurtinus
Caralluma sp.

Haworthia marginata
Haworthia truncata


Discocactus ferricola
Lobivia sp.

Kalanchoe sp.

Kalanchoe sp.

Euphorbia schizacantha
Euphorbia obesa

Titanopsis hugoschlecteri
Titanopsis primosii


Dorstenia foetida
Dorstenia gypsophylla


Avonia quinaria ssp. 
Alstonii
Cistanthe guadalupensis

อันที่จริงแล้วยังมี succulent อีกมากมายหลายวงศ์ที่ไม่อาจเขียนลงไว้ในที่นี้ได้แต่ที่กล่าวมานี้คือสายพันธุ์ที่โดดเด่นและแพร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย
หากท่านใดมีคำถามเพิ่มเติม สามารถส่ง e-mail มาได้ที่ pijaya@hotmail.com

BEE
August 2005




Agavaceae       

พืชในวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีก็คงเป็นต้น Agave นั่นเอง ซึ่งนิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ นอกอาคาร ในประเทศไทย ปัจจุบันมี Agave ชนิดใหม่ๆ นำเข้ามาจากต่างประเทศ หลากหลายชนิด ทำให้มีผู้สนใจปลูกเลี้ยง Agave เป็นจำนวนมาก







ภาพจากสวนคุณยายกลอยใจ
แม่จัน เชียงราย

ส่วนสกุล Sansevieria ก็นิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับเช่นกัน ซึ่งสกุลนี้ปลูกง่ายและสามารถขึ้นได้ในที่ร่ม และที่แดดจัด 






ตัวอย่างเช่นต้นงาช้าง ต้นลิ้นมังกร ไม้อีกชนิดหนึ่งที่พบและรู้จักกันดีในบ้านเราก็คือจันทร์ผา (Dracaena lourieri) ที่มักพบขึ้นบนเขาหินปูนทั่วไปในประเทศไทย







Apocynaceae

หากกล่าวถึงโมก ลีลาวดี และชวนชม คงมีน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก ไม้เหล่านี้แหละจัดอยู่ในวงศ์ apocynaceae ซึ่งวงศ์นี้ก็มีทั้งที่เป็นไม้อวบน้ำและไม่อวบน้ำ ซึ่งไม้อวบน้ำที่เห็นได้บ่อยที่สุด คงหนีไม่พ้น ต้นชวนชม (Adenium) นั่นเอง ถึงจะมีถิ่นกำเนิดไกลจากแถบตะวันออกกลาง (Arabia) และทวีปแอฟริกา แต่เป็นที่น่าภูมิใจว่า เมืองไทยเรานี่แหละ ถือว่าเป็นผู้นำทาง ด้านการขยายพันธุ์ และเผยแพร่ไม้สกุลนี้


นอกจากนี้ยังมีอีกสกุลหนึ่งที่มีความสำคัญคือ Pachypodium อันเป็นไม้อวบน้ำมาจากแถบแอฟริกาใต้และเกาะมาดากาสการ์ (Madagasgar) มีหลายชนิดที่มีลักษณะลำต้นอ้วนสั้นดูกะทัดรัด ดูแปลกตา เช่น P.rosulatum, P.brevicaule แต่หลายชนิดก็มีขนาดใหญ่ มีความสูงหลายเมตร เช่น P.lameri P.namaquanum



                                                                 Pachypodium-from-www-seedsplants.com


ส่วนการปลูกทำได้ไม่ยากนัก เพราะพืชตระกูลนี้ทนแดดทนฝน สถานที่ปลูกควรมีแดดจัดที่สุดเพื่อป้องกันการยืด สามารถรดน้ำได้เต็มที่ ดินควรจะโปร่งและแห้งเร็ว Pachypodium บางชนิด จะสามารถเจริญเติบโต มีลักษณะเป็นธรรมชาติมากกว่าปลูกไว้ในกระถางที่คับแคบ


  Asclepiadaceae
นี่เป็นวงศ์ใหญ่ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นพืชอวบน้ำจำนวนมาก ส่วนใหญ่มาจากแอฟริกาและเอเชีย ที่พบในประเทศไทยได้แก่ Hoya ซึ่งเป็นไม้ใบอวบน้ำและพืชอิงอาศัย สำหรับผู้ที่สนใจทางด้านการเลี้ยง cactus และ succulent ก็มีหลายสกุลที่เป็นที่นิยมเช่น Caralluma , Huernia, Pseudolithos, Stapelia   ซึ่งหลายชนิด มีดอกที่กลิ่นเหม็น เพื่อล่อให้แมลงวันมาผสมเกสร



  Hoya  
Caralluma 
 Pseudolithos migiurtinus 
แมลงวันเป็นตัวช่วยผสมเกสร
pic. by pijaya
Huernia-zebrina-confusa
(ดอกม้าลาย) 

Pseudolithos dodsoniana
pic. by pijaya 
Stapelia sp.
from www.bloguje.cz 

                                                                     



นอกจากนี้ยังมีพืชอวบน้ำที่เก็บน้ำไว้ที่ลำต้นหรือรากใต้ดิน เช่น Fockea, Raphionacme เป็นต้น ซึ่งรากอวบเหล่านี้สามารถปลูกให้สูงจากผิวดินเพื่อความสวยงามในลักษณะบอนไซ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบไม้มีโขด (caudiciform)


ส่วนวิธีการปลูกนั้น พวกไม้อวบน้ำที่ลำต้น จำพวก Stapeliad, Caralluma ควรเก็บให้พ้นฝนและความชื้นเนื่องจากจะเน่าได้ง่าย อีกทั้งผสมดินให้โปร่งมากหน่อยโดยการใส่หินภูเขาไฟ (Pumice) เพิ่มในดิน พวกที่เป็นไม้หัว หรือ caudiciform ก็สามารถปลูกได้โดยใช้ดินแคคตัสทั่วไป หากอยากให้หัวโตเร็วควรปลูกให้หัวฝังอยู่ใต้ดินจนได้ขนาดที่ต้องการค่อยขุดขึ้นมาโชว์โขด


Asphodelaceae

พืชวงศ์นี้เป็นพืชจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ Aloe อันได้แก่ Aloe vera หรือว่านหางจระเข้ที่มีสรรพคุณรักษาผิว แต่ก็มีอีกหลายสายพันธุ์ ซึ่งบางพันธุ์เป็นต้นไม้สูงใหญ่หลายเมตร เช่น A.dichotoma
                                        Aloe vera                                        A.dichotoma (pic from Wiki)

นอกจากAloeแล้ว ก็มี Haworthia (พวกม้าทั้งหลาย) ซึ่งเป็นพืชขนาดเล็กเปรียบเสมือน aloeย่อส่วน มีลักษณะทางพันธุกรรมหลากหลายมาก บางชนิดชอบฝังตัวในดินแต่โผล่เฉพาะส่วนแบนราบด้านบนของใบ เพื่อป้องกันศัตรูและแดดที่แผดเผาในเขตแห้งแล้งของแอฟริกาใต้
นอกจากHaworthiaแล้ววงศ์ Gasteria, Astroloba, ก็เป็นที่สนใจในหมู่มักสะสมไม่ใช่น้อย พืชวงศ์นี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาเป็นส่วนใหญ่ และที่เกาะมาดากาสการ์ จากลักษณะของดอกแล้ววงศ์นี้เป็นญาติกับพวกลิลลี่ ซึ่งนักพฤกษศาสตร์หลายท่านจัดรวมไว้ในวงศ์เดียวกัน(lilliaceae) การปลูกไม่ควรไว้แดดจัด ยกเว้น Aloe ขนาดใหญ่ ผสมดินให้โปร่งโดยใช้หินภูเขาไฟเพิ่มเข้าไปได้ถึง50% หากท่านใดสนใจศึกษาเกี่ยวกับ Haworthia สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความที่ผมเขียนไว้ใน Haworthia Fan Club ใน www.mycacti.com


Haworthia marginata
          pic. by pijaya

                      Haworthia truncata
pic. by pijaya 
 Gasteria neliana
Astroloba egregia (pic from albino.sub.jp/html) 

คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากสำหรับวงศ์นี้ แคคตัสมีถิ่นกำเนิดจากแถบทวีปอเมริกา ตั้งแต่เหนือจรดใต้ มีมากมายหลายสกุล มีตั้งแต่ชนิดที่โตเต็มท ี่สูงตระหง่านเป็นสิบเมตร เช่น ต้นซากวาโร่ยักษ์ (Carnegia gigantea )จากทะเลทรายโซโนราน ไปจนถึงชนิดที่โตเต็มที่ มีขนาดไม่กี่เซนติเมตร แบนราบอยู่ตามซอกหิน เช่นเจ้า Blossfeldia liliputana จากโบลิเวียและอาเจนตินา

       Blossfeldia liliputana
pic from www.lapshin.org 
Carnegia gigantea
pic from www.cactusweb.us

Discocactus ferricola
pic. by pijaya 
และพืชอิงอาศัยบนต้นไม้ตามป่าฝนเขตร้อนอย่าง Rhipsalis spp. แคคตัสบางชนิด ใบยังคงไม่ลดรูปเป็นหนามหมด ดังเช่น Pereskia ซึ่งถือเป็นตัวอย่างของต้นตระกูลของแคคตัส 
 Rhipsalis spp.
                           pic from www.botany.hawaii.edu
Pereskia sp. 
ลักษณะเด่นของแคคตัสที่ต่างจากพืชวงศ์อื่นก็คือการมี areole หรือตุ่มหนาม ซึ่งมักจะปกคลุมด้วยขนหรือหนาม บางชนิดมี glochids เช่น พวก Opuntia ซึ่งร้ายมากตรงที่ตรงปลายเป็นเหมือนปลายฉมวก หากถูกตำจะติดไปกับผิวหนัง ถึงจะดึงออกได้แต่หัวฉมวกยังคงติดแน่นใต้ผิวทำให้ระคายเคืองอย่างมาก 
 Opuntia sp.
                          (เสมาทอง)
                       Opuntia sp.
(หนามกระดาษ) 
                       Opuntia sp.



Crassulaceae
พืชวงศ์นี้มีสมาชิกเป็นพวกกุหลาบหินทั้งหลาย เช่น Kalanchoe, Echeveria, Crassula, Sedum, Adromischus. มีถิ่นกำเนิดจากเกือบทุกทวีปบนโลก แม้แต่ในประเทศไทยผมเคยเก็บตัวอย่างKalanchoe ชนิดหนึ่งได้ที่บนหน้าผาหินปูนในกาญจนบุรี มีใบสีแดงเทาเมื่อเอาออกแดดสวยงามมาก


Kalanchoe sp. Thailand
                                      pic. by pijaya

Echeveria sp.
      (กำมะหยี่)

Crassula portulasia

Sedummorganianum
(รวงข้าว)

Adromischus sp. 

Dudleya
from http://pacificbulbsociety.org
                    

Kalanchoe tubiflora
"mother of thousands" 


พืชในวงศ์นี้บางชนิดเลี้ยงยากในประเทศไทยเนื่องจากต้องการอากาศเย็นเช่นพวก Sedum,Echeveria และ Dudleya ตัวหลังนี้ผมเคยไปเห็นขึ้นอยู่ตามสภาพธรรมชาติตามแนวชายฝั่งทะเลของรัฐCalifornia สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีลมแรงและอากาศหนาวเย็นในตอนกลางคืน แต่อย่างไรก็ตามก็มีที่เลี้ยงง่ายเช่นพวก Kalanchoe ส่วนใหญ่ พวกนี้บางทีจะให้หน่อเล็กๆออกมาทางใบซึ่งสามารถนำไปชำขยายพันธุ์ได้

แต่บางทีก็อาจกลายเป็นวัชพืชได้หากไม่ระวัง เช่นเจ้าต้น mother of thousands (Kalanchoe tubiflora) ซึ่งสามารถผลิตลูกได้เป็นพันต้นสมชื่อ การปลูกควรระวังเรื่องเครื่องปลูก บางชนิดเช่น Echeveria ไม่ชอบหินภูเขาไฟเยอะ เครื่องปลูกจึงควรมีส่วนผสมของกาบมะพร้าว และใบไม้ผุ (humus) มาก ส่วนมากชอบแดดช่วงเช้าที่ไม่แรงนัก

Mesembryanthemaceae




























ตัวอย่างเช่น Lithop, Conophytum, Faucaria, Frithia, Titanopsis, Delosperma, ฯลฯ หลายชนิดเช่น Lithop, pleiospilos เป็นนักพรางตัวที่เยี่ยมยอดซึ่งมักจะดูกลมกลืนไปกับก้อนกรวดก้อนหินโดยรอบได้อย่างแนบเนียนเพื่อหลบศัตรู วงศ์นี้ไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักในเมืองไทย แต่ที่อเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรปนั้น เป็นที่แพร่หลายอย่างมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าพืชส่วนใหญ่ในวงศ์นี้มาจากแถบแอฟริกาใต้ซึ่งมีอากาศเย็นกว่าบ้านเรา ไม้เหล่านี้จึงมีปัญหาเมื่อนำมาปลูกที่เมืองไทยซึ่งมีอากาศร้อนชื้น ผมเคยสั่ง Lithop มาชุดหนึ่ง40กว่าชนิดด้วยความหวังที่ว่าคงต้องมีสักชนิดหนึ่งที่จะรอดในเมืองไทย แต่ก็ต้องผิดหวัง เมื่อมันค่อยๆตายไปทีละต้นสองต้นจนไม่เหลือแม้แต่ชนิดเดียว ผมจึงปักใจเชื่อแล้ว ว่าไม่สามารถที่จะเลี้ยงได้ในกรุงเทพฯเป็นแน่แท้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีสกุลอื่น ที่น่าสนใจและปลูกไม่ยากนักในประเทศไทย เช่น Faucaria (กรามเสือ), Delosperma, Trichodiaderma, Frithia, Titanopsis เป็นต้น ทั้งหมดควรได้รับแดดจัด ดินโปร่ง สองสกุลหลังหากไว้กระถางดินเผาจะเหมาะมากเพราะดินจะแห้งเร็วกว่าและตัดปัญหาเน่าที่โคน